วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555


แนะแนวทางการศึกษา  ตอนเรียนสายอาชีพ สาขาช่างยนต์
ความสำคัญของสาขาวิชาช่างยนต์
             สาขาช่างยนต์เป็นสาขาที่ได้รับความนิยมระดับต้น ๆ ของสายอาชีพ เนื่องจากมีโอกาสในการประกอบอาชีพหลังจากจบการศึกษาสูง ทุก ๆ วันนี้ แต่ละครอบครัวมีรถอย่างต่ำบ้านละ 1 คันขึ้นไป โดยส่วนใหญ่แล้วมีมากกว่า 1 คัน ซึ่งควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมมาก ๆ แล้วจึงตัดสินใจเรียนนะครับการใช้รถจะมีระยะเวลาบำรุงรักษาทุก ๆ รอบ เช่น 3 เดือนครั้ง หรือ 6 เดือนครั้ง หรือตามสภาพรถ โอกาสในความเจริญก้าวหน้าของช่างยนต์จึงมีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก และสามารถประกอบส่วนตัวได้

รายละเอียดของสาขาวิชา
            ช่างยนต์ คือ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องยนต์ต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในการเกษตร และอื่น ๆสาขาช่างยนต์มีการจัดการเรียนการสอนเน้นการฝึกทักษะ ประสบการณ์ และการทดลองสิ่งใหม่
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาขาช่างยนต์ เช่น ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ต่าง ๆ การใช้อุปกรณ์ในงานช่าง วัสดุเชื้อเพลิง การถอดประกอบเครื่องยนต์ การคำนวณต่าง ๆ ที่จำเป็นต่องานช่าง วิชากลศาสตร์ วิชาเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นต้นการเรียนสาขาช่างยนต์เป็นสาขาวิชาที่เน้นการฝึกปฏิบัติกับทฤษฎีควบคู่กันและมีการปรับเปลี่ยนเทคนิคการ
สอนและฝึกปฏิบัติตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์

คุณสมบัติของศึกษาสาขาวิชา
1. เป็นผู้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
2. เป็นผู้ชอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบฝึกปฏิบัติ
3. เป็นผู้สนใจงานช่างยนต์ และสนใจเครื่องยนต์ต่าง ๆ
4. เป็นผู้มีความละเอียดรอบคอบ
5. เป็นผู้มีวินัยในการทำงาน
6. ชื่นชอบเทคโนโลยี
7. มีความสามารถขั้นพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์
8. มีความสามารถพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ
9. อื่นๆ

แนวทางการศึกษาในระดับสูง
1. ปวช. สาขาช่างยนต์
2. ปวส. สาขาช่างยนต์/เทคนิคยานยนต์
3. ปริญญาตรี/ สาขาวิศวกรรมยานยนต์ / กลเกษตร / ครุศาสตร์เกี่ยวกับการสอนสายอาชีพ และสายอื่น ๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจทั่วไปสมัครเรียน
4. ปริญญาโท
5. ปริญญาเอก

ลักษณะของงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
1. ซ่อมบำรุงรถยนต์ รถจักรยานยนต์
2. เปลี่ยนอุปกรณ์ภายในรถหรือเครื่องยนต์
3. เคาะพ่นสี
4. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันต่าง ๆ
5. เช็คระบบวงจรรถ
6. ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
7. แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับเครื่องยนต์
8. อื่น ๆ

แนวทางการประกอบอาชีพ
1. ช่างยนต์
2. พนักงานทั่วไป
3. พนักงานซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ของภาครัฐและเอกชน
4. พนักงานขนส่งสินค้า
5. นายช่างศูนย์บริการ
6. เจ้าของกิจการคาร์แคร์
7. เจ้าของกิจการอู่รถ
8. เจ้าของกิจการเต้นท์รถ
9. เจ้าของกิจการจำหน่ายอะไหล่รถ
10. อื่น ๆ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
1. วิทยาลัยเทคนิค
2. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน
3. วิทยาลัยสารพัดช่าง
4. มหาวิทยาลัยราชมงคลต่าง ๆ
5. ห้องแนะแนวประจำโรงเรียนต่าง ๆ
6. วิทยาลัยสายอาชีพเอกชน
7. ห้องสมุด
8. อินเตอร์เน็ต

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากเว็บมาสเตอร์
        สำหรับการเลือกเรียนสายอาชีพสาขาช่างยนต์ ถือว่าเป็นอีกทางเลือกในการประกอบอาชีพ เพราะทุกวันนี้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกวัน อัตราการใช้บริการซ่อมและเปลี่ยนอุปกรณ์ต่าง ๆ ย่อมสูงตามไปด้วย ผู้จบสาขาช่างยนต์จึงมีโอกาสสร้างรายได้จากการขยายตัวและการใช้รถส่วนบุคคลทั่วไปได้ และมีโอกาสประกอบกิจการได้สูงการเลือกเรียนสาขาวิชาใดก็ตามควรเลือกตามความสนใจของผู้สมัครเรียน
ไม่ควรเลือกตามเพื่อน หรือเลือกตามกระแสควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมมาก ๆ แล้วจึงตัดสินใจเรียนนะครับ

ที่มา : http://naenaew.blogspot.com/2011/03/blog-post_1390.html




วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

อัตลักษณ์ของสถานศึกษาคือ อะไร

              อัตลักษณ์ คือ ลักษณะเฉพาะที่เป็นตัวตนของสถานศึกษา หรือกลุ่มสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานศึกษา หรือลักษณะโดดเด่นของสถานศึกษา โดยควรเน้นที่ การกำหนดภาพความสำเร็จในตัวผู้เรียน(อาจเป็นคุณลักษณะ หรือสมรรถนะ) ในการกำหนดอัตลักษณ์ สถานศึกษาควรทำการวิเคราะห์ความเป็นมาของสถานศึกษา เจตนารมณ์ในการจัดตั้ง หรือบริบทของสถานศึกษา แล้วกำหนดอัตลักษณ์หรือคุณสมบัติเฉพาะที่ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องมีก่อนสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้ ควรมีการประชาพิจารณ์ให้เห็นพ้องร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่าง รวมทั้งจะต้องมีกิจกรรมการส่งเสริมหรือพัฒนาที่เป็นรูปธรรม และ มีการประเมินหรือตรวจสอบอย่างเป็นระบบ ว่า ผู้เรียนหรือผู้สำเร็จการศึกษา ได้มีคุณสมบัติหรือผ่านเกณฑ์แล้ว หรือไม่

ที่มา:http://drsuphakedqa.blogspot.com/2010/07/07.html